โครงการ Mobile Battery for Life ทำลายและทำใหม่อย่างถูกต้อง


    Mobile Battery for Life ดำเนินงานภายใต้โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ตั้งแต่ปลายปี 2551 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรณรงค์และเชิญชวนให้พนักงาน ลูกค้าดีแทค รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการตกค้างของสารพิษของขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเรื่องการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะตัวเครื่อง แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เสริมโทรศัพท์มือถือที่เสื่อมสภาพหรือไม่ได้ใช้งานแล้ว โดยจะตั้งกล่องรับทิ้งแบตเตอรี่เก่า มือถือเก่าและอุปกรณ์เสริมที่ Dtac Service Hall Center 22 สาขาทั่วประทศ และร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าโรบินสันตั้งกล่องรับทิ้งมือถือและแบตเตอรี่เก่าที่เคาน์เตอร์บริการลูกค้ารวม 21 สาขาทั่วประเทศรวมถึงองค์กรที่มีแนวคิดร่วมรณรงค์ ตลอดจนสถาบันการศึกษา

    โดยปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือมากกว่า 70 ล้านหมายเลข ซึ่งหมายถึงว่าประชากรไทยทีมีจำนวน 67 ล้านคน มีส่วนที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 1 หมายเลข และในการใช้โทรศัพท์มือถือจะมีอุปกรณ์เสริมอย่างน้อย 2 ชิ้น มีอายุการใช้งานอย่างต่ำ 2 ปี ซึ่งจะมีการเสื่อมสภาพและก่อให้เกิดเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่ได้เข้าสู่กระบวนการทำลายอย่างถูกวิธี สารพิษจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะตกค้างสู่สภาพแวดล้อมก่อให้เกิดอันตรายต่อทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมได้  ทั้งนี้เพราะ ตัวแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือ จะมีส่วนผสมของโลหะหนักประเภท ลิเธียม นิกเกิล และแคดเมี่ยม ซึ่งย่อยสลายยากและสามารถที่จะกระจายเข้าสู่เนื้อดินและน้ำ

    ขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการทำลายหรือ Recycle อย่างถูกวิธีโดยโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมมือกับบริษัทมาตรฐานระดับโลก TESS-AMM ที่มีกระบวนการทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลและปลอดภัยตามข้อกฎหมาย และสารประกอบบางชนิดยังสามารถนำกลับมาเข้าสู่กระบานการ Recycle เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ทั้งยังสามารถลดกระบวนการถลุงแร่ธาตุจากธรรมชาติทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอีกด้วย

    ปัจจุบันจากที่ได้ดำเนินโครงการมา สามารถรวบรวมแบตเตอรี่มือถือได้แล้วรวมทั้งสิ้น 94,000 ก้อน

    โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้มือถือที่จะมีต่อสภาพแวดล้อม จึงดำเนินโครงการ Mobile battery for Life ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์และความตั้งใจในการที่จะรณรงค์และสร้างการรับรู้ต่อประชาชน หรือผู้บริโภค ในการที่จะได้มีส่วนร่วมในการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม

    DTAC01_01   DTAC01_02   DTAC01_03

ผลลัพธ์ : รณรงค์และส่งเสริมให้ผู้บริโภคตระหนักถึงพิษภัยของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี ลดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม