Process Accountability


องค์กรธุรกิจสามารถพัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจด้วยการพิจารณาที่ตัวกระบวนการ (Process) โดยคำนึงถึงวิธีการในการดำเนินธุรกิจซึ่งสามารถอธิบายถึงกระบวนการดำเนินงาน การพร้อมรับการตรวจสอบ และการรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน ในฐานะที่เป็นผู้สร้างเหตุปัจจัย (Cause) และผลกระทบ (Effect) สู่ภายนอกทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

ตัวอย่างของแนวปฏิบัติในหมวดนี้ ได้แก่ การจัดให้มีระบบการทำงานที่มุ่งเน้นความปลอดภัยและสุขอนามัยในสถานที่ทำงานอย่างเหมาะสม เช่น การมีระบบป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน การจัดให้มีสถานที่ทำงานที่สะอาดเพื่อความปลอดภัยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากอุบัติภัยและโรคภัย การสำรวจตรวจสอบสภาพชุมชนและสังคมโดยรอบที่ตั้งของธุรกิจว่าได้รับผลกระทบในทางลบจากการดำเนินการของธุรกิจหรือโครงการที่จะดำเนินการในอนาคตมากน้อยเพียงใด การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแก่พนักงานและสาธารณชน การจัดเตรียมแผนฉุกเฉินเพื่อจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งจัดให้มีระบบการรายงานต่อหน่วยงานกำกับดูแลทันทีที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว การเปิดเผยนวัตกรรมที่ค้นพบในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจและผู้ประกอบการรายอื่นได้ปฏิบัติตาม






"Jellyfish are 97% water or something, so how much are they doing (to help the Earth)? Just give them another 3% and make them water. It's more useful."

"We are being made aware that the organization of society on the principle of private profit, as well as public destruction, is leading both to the deformation of humanity by unregulated industrialism, and to the exhaustion of natural resources, and that a good deal of our material progress is a progress for which succeeding generations may have to pay dearly."