อาคาร ธ.กสิกรไทย แจ้งวัฒนะ ต้นแบบอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาตรฐานโลก


ธนาคารกสิกรไทย อาคารแจ้งวัฒนะ เป็นอาคารสำนักงานใหญ่อาคารที่ 3 ของธนาคาร มีแนวคิดที่จะให้เป็นอาคารสีเขียว หรือ Green Building มาตั้งแต่ต้น โดยมีหลักการ 3 ความยั่งยืน ได้แก่

เพื่อการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของเครือธนาคารกสิกรไทย สามารถรองรับการขยายธุรกิจของเครือ และมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการพื้นที่สำรองในการทำงาน ในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะมีศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง เพื่อให้ทุกบริการอิเล็กทรอนิกส์ของเครือธนาคารกสิกรไทย สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเตรียมให้บริการ Business Contact Center เพื่อให้บริการทางโทรศัพท์แก่กลุ่มลูกค้าธุรกิจทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นแห่งแรกของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน อาคารธนาคารกสิกรไทย แจ้งวัฒนะ มีเป้าหมายให้เป็นอาคารสีเขียว ทั้งในระดับมาตรฐานของประเทศไทยและนานาชาติ จึงถูกออกแบบและก่อสร้างโดยยึดมาตรฐานของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็นระบบการวัดระดับความเป็นอาคารสีเขียว (Green Building) ของ U.S. Green Building Council (USGBC) องค์กรทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อดำเนินการสนับสนุนและให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่องการออกแบบที่ยั่งยืนของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตั้งเป้าให้เป็นอาคารในระดับ Gold  นอกจากนี้การออกแบบและก่อสร้างยังคำนึงถึงมาตรฐาน TEEAM (Thailand Energy & Environment Assessment Method) ซึ่งเป็นแนวทางการออกแบบและประเมินอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยตั้งเป้าให้เป็นอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับ “ดีเด่น”

ทั้งนี้กระจกรอบตัวอาคารเป็น Insulated Laminate ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารและตัดแสงสะท้อน ไม่ให้รบกวนสิ่งแวดล้อมรอบข้าง การออกแบบภายในเน้นในรูปแบบการจัดวางผังแบบเปิดโล่งเพื่อใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติภายนอก ซึ่งสามารถส่องผ่านเข้าถึงพื้นที่ภายในได้ ทั้งยังลดปริมาณการใช้แสงไฟภายในอาคาร (Artificial Light) ทำให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 30  และยังคำนึงถึงความต่อเนื่องในการใช้งานภายในพื้นที่แต่ละส่วน พร้อมทั้งการออกแบบให้เกิดการไหลเวียนอากาศภายนอกสู่ภายใน ผสานระบบเครื่องปรับอากาศ ทำให้อาคารแห่งนี้เย็นสบาย ช่วยลดการใช้พลังงานได้อีกทางหนึ่ง และยังเป็นอาคารที่ประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 50 เนื่องจากสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

สำหรับภูมิสถาปัตยกรรมนั้น ได้มีการซื้อที่ดินเพิ่มเติมซึ่งได้ใช้เป็นที่จอดรถยนต์กลางแจ้ง เพิ่มพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียว มีการออกแบบให้ลดความร้อนบนพื้นดาดแข็งของภูมิทัศน์ลดปรากฏการณ์เกาะร้อน (Urban Heat Island) และยอมให้น้ำซึมผ่านได้ถึงร้อยละ 80 ลดปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่จอดรถ สามารถประหยัดเชื้อเพลิงเป็นพื้นที่เฉพาะและที่จอดรถจักรยานยนต์จำนวน 166 คัน ร้อยละ 5 ของผู้ใช้อาคารเลือกใช้วัสดุเช่น พรมพื้น ไม้อัด ไม้ MDF กาว และสีทาอาคาร ตามมาตรฐาน Green Label และ Green Guard ค่า VOC ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ช่วยลดผลกระทบทางด้าน Indoor Air Quality และ Sick Building Syndrome ควบคุมเสียง น้ำ ฝุ่นที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างอย่างเข้มงวด บันไดเชื่อมต่อถึง 6 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อระหว่างชั้นได้อย่างสะดวกสบายและลดการใช้งานลิฟต์เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า

นอกจากนั้นพื้นที่ถนนส่วนใหญ่ปูพื้นด้วย Turf Block โดยปลูกหญ้าแซมเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และยังช่วยระบายน้ำฝนที่ตกลงมาบนถนนให้สามารถไหลลงสู่ชั้นดินได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งปลูกไม้ใหญ่แซมกระจายตลอดพื้นที่ทางด้านนอกของอาคาร สร้างความร่มรื่นได้เป็นอย่างดี

ในปี 2552 ที่ผ่านมาธนาคารฯ ได้รับรางวัล “อาคารประหยัดพลังงานระดับดีเด่น ฉลากทอง” จากนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในงานสัมมนา “โครงการดำเนินการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารโดยการติดฉลาก” ซึ่งกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ร่วมกับสถาบันวิจัยพลังงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จัดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่อาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาคารแจ้งวัฒนะของอาคารผ่านเกณฑ์ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้สารทำความเย็นที่ส่งผลต่อสภาวะเรือนกระจกน้อย ผ่านเกณฑ์การนำอากาศบริสุทธิ์เข้าอาคารมาตรฐานสูง ผ่านเกณฑ์ค่าความส่องสว่างขั้นต่ำ มีระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ บ่อดักไขมัน มีแผนและดำเนินการป้องกันมลภาวะและสิ่งรบกวนจากการก่อสร้าง เลือกสีและสารเคลือบผิวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ในขณะเดียวกันก็ประกันคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ทั้งสิ่งแวดล้อมภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก อาคารแจ้งวัฒนะของธนาคารเป็นอาคารที่ได้รับฉลากอาคารอนุรักษ์พลังงานระดับดีเด่น ซึ่งเป็นระดับสูงสุด

นอกจากนี้อาคารธนาคารกสิกรไทย แจ้งวัฒนะ พร้อมอีก 8 สถาปัตยกรรมดีเด่น คว้ารางวัล สถาปัตยกรรมสีเขียวดีเด่นของไทย (ASA Green Awards) ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้รางวัลแด่อาคารสีเขียวต้นแบบที่เป็นมิตรต่อสิงแวดล้อมอันควรค่าแก่การเชิดชูเกียรติ  ส่วนเกณฑ์ในการพิจารณาอาคารที่ได้รับรางวัล ASA Green Awards ได้แก่ ความมุ่งมั่นในการออกแบบอาคารเขียว บริบททางสังคมและชุมชน การใช้ประโยชน์ที่ดินและภูมิทัศน์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเขตอากาศร้อนชื้น ปลอดภัย น่าสบาย และสุขภาวะของผู้ใช้อาคาร ประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ วัสดุอาคารและการก่อสร้าง ความยืดหยุ่น การปรับใช้และความพอเพียงและผลตอบรับหลังการใช้งาน ทั้งนี้สถาปัตยกรรมดีเด่นทั้ง 9 แห่ง ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหา ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย แจ้งวัฒนะ อาคารที่ทำการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม The Avenue รัชโยธิน  Siam Future สนามบินนานาชาติสมุย หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาคารปฏิบัติการ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์  โรงงาน Interface Floor  และอาคารเรียน วัดเขาพุทธโคดม    อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

KB02_01   KB02_02   KB02_03


ผลลัพธ์ : ประหยัดพลังงานจากการบริหารจัดการพื้นที่อาคารสถาปัตยกรรมสีเขียวและสร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า